K3S on Raspberry Pi — Node Cluster

สำหรับขั้นตอนนี้จะเป็นการเพิ่ม node ให้กับตัว cluster ของเรากันนะครับ ซึ่งถ้าใครไม่ต้องการหรือมีแค่ main cluster สามารถข้ามไปได้เลยครับ

or this step, we will be adding a node to our cluster. If you don’t need this or only have the main cluster, you can skip this step.

ผมขอข้ามขั้นตอนสำหรับขั้นตอนติดตั้ง OS และกำหนด IP ของ Node ไปเลยนะครับ เพราะว่าเป็นขั้นตอนเดียวกับ Part 1 และ 2 ครับ

I will skip the steps for installing the OS and setting the IP for the node, as they are the same as in Part 1 and Part 2.

เริ่มแรกเราก็จะทำการ remote ไปยัง Raspberry Pi ตัวที่เราจะเอามาใช้เป็น Node กันก่อน ซึ่งคำสั่งก็คือ

First, we will remote into the Raspberry Pi that we will use as a Node. The command is:

ssh <user>@<ip>

หลังจากนั้น ให้ใช้คำสั่งนี้สำหรับติดตั้ง K3S บน Node แต่อย่าลืมเปลี่ยนเป็น root user กันก่อนติดตั้งนะครับ

After that, use this command to install K3S on the Node, but don’t forget to switch to the root user before installing.

curl -sfL https://get.k3s.io | K3S_TOKEN="<Token From Main Cluster>" K3S_URL="https://<Main Cluster IP>:6443" K3S_NODE_NAME="<Node Name>" sh -

สำหรับคำสั่งด้านบน จะมี Parameter ดังนี้ครับ

The command above will have the following parameters:

  • K3S_TOKEN

จะเป็นตัว Node Token ที่เราเก็บไว้ในไฟล์ ~/.kube/node_token ในเครื่อง main cluster

The Node Token is stored in the ~/.kube/node_token file on the main cluster.

  • K3S_URL

จะเป็น IP / Url ของ main cluster

The IP/URL of the main cluster.

  • K3S_NODE_NAME

จะเป็นการกำหนดชื่อที่ใช้แสดงในรายการ node list ของ Kubernetes

It specifies the name to display in the node list of Kubernetes.

ซึ่งถ้าใครจำไม่ได้ สามารถกลับไปดูมาก่อนได้ครับ แต่ถ้าไม่อยากจะเปิดหลายๆ หน้าต่าง สามารถใช้คีย์ลัดนี้เพื่อ split หน้าต่างได้ครับ

If anyone can’t remember, you can go back and check. But if you don’t want to open multiple windows, you can use this shortcut to split the window.

Alt + Shift + - 

หลังจากที่กำหนดค่าของ parameter ต่างๆ เสร็จแล้ว ก็ให้กด Enter แล้วรอให้ติดตั้งจนเสร็จ

After setting the parameters, press Enter and wait for the installation to be completed.

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วนั้นให้เช็คสถานของ k3s ด้วยคำสั่ง

After installation, check the status of K3S with the command:

sudo systemctl status k3s-agent

ตอนนี้ให้เรากลับไปเช็คข้อมูล node ที่ main cluster ด้วยคำสั่งข้างล่าง ก็จะมี Node ใหม่ที่เราพึ่งเพิ่มไปแสดงขึ้นมาครับ

Now, let’s go back and check the node information on the main cluster using the following command. You will see the newly added node.

sudo kubectl get nodes

Part 1 — Raspberry PI Setup

Part 2 — Static IP Setup

Part 3 — Main Cluster Setup

Part 4 — Node Cluster

Part 5 — Ingress Nginx

Part 6 — Remote Access

Part 7 — Portainer

Cluster install — update on 2024–08–04

--

--

No responses yet