Graph Database Browser Interface

สำหรับบทความนี้จะต่อจากที่เคยค้างเอาไว้เกี่ยวกับหน้าจอของ Graph Database Browser กันนะครับ

ก่อนอื่นเลย ผมจากจะเปลี่ยนตัว image จากเดิมที่เราจะใช้ neo4j:4.1 มาเป็น neo4j:enterprise กันนะครับ เหตุผลเพราะตัว enterprise จะสามารถสร้าง Database เพิ่มได้ ทำให้เราสามารถเล่นกับข้อมูลได้หลากหลายขึ้นนั่นเองครับ สำหรับชุดคำสั่งของ docker-compose ก็มี ดังนี้ครับ

หลังจากนั้นก็ให้ใช้คำสั่งนี้ เพื่อให้ container ของ Graph Database ทำงาน โดยเราจะใช้ -d ( — detach) เพื่อให้ docker รัน container แบบไม่แสดง console

$> docker-compose up -d

จากนั้นให้เปิดหน้า Internet Browser ขึ้นมาแล้วเข้า Address ของ Graph Database

http://localhost:7474

โดยหน้าจอของ Graph Database Browser ก็จะมีลักษณะ ดังนี้

จากนั้นให้กรอก Username / Password ที่เราได้กำหนดเอาไว้ใน docker-compose.yaml

Username: neo4j
Password: test

หลังจากนั้นหน้าจอจะแสดงหน้าต่างขึ้นมา 2 ส่วน ดังนี้

  • Play Start จะเป็นส่วนต้อนรับ โดยจะมีการแนะนำการใช้งานเบื้องต้นต่างๆ
  • Server Connect จะเป็นส่วนที่แสดงข้อมูลการเชื่อมต่อในปัจจุบัน

สำหรับในหน้าจอนี้ ทางด้านซ้ายมือ จะมีเมนูต่างๆ โดยจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนและล่าง ซึ่งจะมีรายละเอียด ดังนี้

ส่วนบน

  • Database Information จะเป็นส่วนที่แสดงข้อมูลต่างๆ ของ Graph Database เช่น Database ที่ใช้งานอยู่, Label ต่างๆ ภายใน Database ที่ใช้งาน และข้อมูลการเชื่อมต่อ เป็นต้น
  • Favorites จะเป็นส่วนที่จัดการกับชุดคำสั่ง Query ต่างๆ ที่เราได้บันทึกเอาไว้ รวมถึงตัวอย่างคำสั่ง Query
  • Help & Resources จะเป็นส่วนของ Documents ต่างๆ เช่น ตัวอย่างการใช้งานเบื่องต้น หรือ Document ของชุดคำสั่ง

ส่วนล่าง

  • Neo4j Browser Sync เป็นส่วนจัดการข้อมูลการใช้งานรวมไปถึงการ sync ข้อมูลกับ Account ของเราบนเว็บ neo4j
  • Browser Settings เป็นส่วนการตั้งค่าการใช้งานหรือรูปแบบของ Graph Database Browser
  • About Neo4j เป็นส่วนแสดงรายละเอียดของ Graph Database ที่ใช้งานอยู่

และในส่วนของตรงกลางหน้าจอด้านบน จะมีส่วนที่ใช้สำหรับเขียน Query

สำหรับการเขียน Query นั้น เราจะใช้คีย์ลัดหลักๆ อยู่เท่านี้

  • Ctrl + Space สำหรับเรียกใช้ Query IntelliSense
  • Shift +Enter สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่
  • Enter สำหรับรัน Query ที่มีบรรทัดเดียว
  • Ctrl + Enter สำหรับรัน Query ในกรณีที่ Query มีหลายบรรทัด

สำหรับหน้าจอ Result หรือส่วนแสดงผลของ Query จะมีลักษณะ ดังนี้

ส่วนบนจะเป็น Query ที่เราใช้งาน

ด้านซ้ายจะเป็นการแสดงผลในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • Graph โดยจะแสดงข้อมูลในรูปแบบของ Graph ดังภาพ

และข้างๆ จะแสดงจำนวนข้อมูลที่แสดงผล และ Label ที่เกี่ยวข้อง

  • Table โดยจะแสดงข้อมูลในรูปแบบของ JSON ดังภาพ
  • Text จะเป็นการแสดงข้อมูลในรูปแบบของ Text ดังภาพ
  • Code จะแสดงข้อมูลในรูปแบบของชุดคำสั่ง ดังภาพ

สำหรับบทความนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการแนะนำหน้าจอและการใช้งานแบบคร่าวๆ
เป็นส่วนหลักๆ ครับ หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

--

--